14 ธันวาคม 2552

บทที่ 6



ลำดับเหตุการณ์สำคัญในเวียดนาม
ตั้งแต่
ฝรั่งเศสยอมแพ้ที่ เดียน เบียน ฟู – ไซ่ง่อน
แตก

------------




ลำดับเหตุการณ์

7 พ.ค. 2497 ฝรั่งเศสยอมแพ้ที่ เดียน เบียน ฟู

8 พ.ค. 2497 เปิดการประชุมที่ กรุงเจนีวา กรณีปัญหาอินโดจีน

26 มิ.ย 2497 โง ดิน เดียมห์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำเวียดนาม เดินทาง กลับถึงไซ่ง่อน

21 ก.ค.2497 การประชุมที่ เจนีวายุติลง พร้อมด้วยข้อหยุดยิง 3 ข้อ และยัง ตกลงกันไม่ได้ 1 ข้อ

8 ก.ย. 2497 สหรัฐอเมริกา , ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์,ไทยและปากีสถาน ลงนามในสนธิสัญญาป้องกันร่วม SEATO ให้
การคุ้มครอง ลาว กัมพูชา และคุ้มครองเวียดนามให้เป็นอิสระ

23 ต.ค ประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์ ให้คำมั่นกับประธานาธิบดี โง ดิน เดียมห์ ที่จะเพิ่มความช่วยเหลือ โดยตรงให้รัฐบาลไซ่ง่อน

1 ม.ค 2498 สหรัฐเริ่มให้ความช่วยเหลือต่อรัฐบาล โง ดิน เดียมห์

12 ก.พ 2498 ที่ปรึกษาทางทหารของสหรัฐ เริ่มเข้ารับการฝึกของกองทัพเวียดนาม

มี.ค 2498 พรรคการเมืองต่าง ๆ เกิดการแตกแยก กองทัพเริ่มระส่ำระส่าย

28 มิ.ย 2498 รมต. ต่างประเทศ สหรัฐ จอห์น ฟอสเตอร์ ดัสเลส ประกาศว่าสหรัฐไม่เกี่ยวข้องการเจรจาสงบศึก ที่เจนีวา

9 ส.ค. 2498 รัฐบาลของประธานาธิบดี เดียมห์ ปฏิเสธที่จะเจรจากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (DEMOCRATIC REPUBLIC OF VIETNAM : DRV)

31 ส.ค.2498 รมต. ดัสเลส ประกาศสนับสนุน ประธานาธิบดี เดียมห์ ในการเจรจากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม

23 ต.ค. 2498 มีการลงประชามติ (โดยวิธีสกปรก) ว่าจะมีการสถาปนาสาธารณรัฐหรือไม่ ? (98.2 เปอร์เซ็นต์เห็นด้วย) ซึ่งเป็นปูทางให้จักรพรรดิ เบ๋า ได แต่งตั้ง เดียมห์ ได้เป็นผู้นำ

26 ต.ค. 2498 ประกาศตั้งสาธารณรัฐเวียดนาม (REBUBLIC OF VIETNAM : RVN ) โดยมีเดียมห์ เป็นประธานาธิบดีคนแรก

6 เม.ย. 2499 สาธารณรัฐเวียดนาม ประกาศไม่อยู่ภายใต้ข้อผูกมัดของสนธิสัญญา เจนีวา เพราะว่ามิได้เป็นประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญา , ทำให้ฝ่ายฮานอยยืนข้อเสนอขอเจรจา

28 เม.ย. 2499 คณะที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐ เข้ารับผิดชอบ (อย่างเป็นทางการ) การฝึกของกองทัพเวียดนาม , ฝ่ายฝรั่งเศสถอนตัวออกไป

21 ก.ค. 2499 ถึงเวลากำหนด (ตามสนธิสัญญา เจนีวา) เพื่ออกประชามติเรื่องการรวมชาติ

ก.ย. การปฏิรูปที่ดินเสร็จสิ้นสมบูรณ์ , คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ประกาศแก้ไขการปฏิรูปที่ดิน และวิจารณ์ว่าทำงานผิดพลาด

ธ.ค. มีการประกาศเตือนจากฮานอย ไปยังแนวร่วม ที่ปฏิบัติอยู่ทางใต้ให้ “ต่อสู้ทางการเมืองต่อไป” ให้มีการระวังป้องกันตนเอง และให้ใช้ “การโฆษณาชวนเชื่อ”

มี.ค. 2500 การประชุมคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 12 มีมติให้ใช้แผน 3 ปี เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เหมือนกับปี 1939 และเตรียมเปลี่ยนไปสู่ระบบสังคมนิยม

5-19 มี.ค. 2500 เดียมห์ เดินทางไปสหรัฐอเมริกา, กล่าวสุนทรพจน์ในงานสภา คองเกรส

ต.ค. 2500 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ เริ่มรวมตัวกันจัดตั้ง “กองกำลัง” ขนาดกองพันได้ โดยมากจะเป็นเวียดมินห์ ที่เคยผ่านการรบมาแล้ว, มีการโฆษณาชวนเชื่อติดอาวุธ

2 พ.ย. 2500 รัฐบาลลาว และขบวนการประเทศลาว ตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสม และรวมกองทัพเข้าด้วยกัน

19 พ.ย. 2500 สภาผู้แทนลาว เลือกเจ้าสุวรรณภูมา เป็นผู้นำรัฐบาลผสมคนแรก

23 ก.ค. 2501 พวกฝ่ายขวาที่สหรัฐสนับสนุน บีบบังคับให้เจ้าสุวรรณภูมา ลาออก

18 ส.ค. 2501 ฝ่ายที่นิยมสหรัฐ จัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยไม่มีฝ่ายขบวนการประเทศลาว (PATHET LAO) และได้จับกุมผู้นำฝ่ายขบวนการประเทศลาว, รัฐบาลผสมหมดสภาพลง

มี.ค. 2502 มีการปฏิบัติการ “สงครามกองโจรอย่างจำกัด” ในบริเวณที่ราบสูงของภาคกลาง (ในเวียดนามใต้)

6 พ.ค. 2502 รัฐบาลของ เดียมห์ ได้ออกกฎหมายที่ 10/59 เรื่อง การจัดตั้งศาลทหารเพื่อการลงโทษกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิวัติ, สหรัฐจัดส่งที่ปรึกษาทางทหาร ระดับกรมทหารราบเข้ามาเวียดนามใต้ 1 กรม และหน่วยนาวิกโยธิน 1 กองพัน

พ.ค. 2502 การประชุมของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิวส์ ครั้งที่ 15 มีมติให้ใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธต่อเวียดนามใต้, เริ่มมีการเคลื่อนย้าย, แทรกซึมลงไปเวียดนามใต้ ทั้งคนและอาวุธยุทโธปกรณ์

28 ส.ค. 2502 บรรดาแกนนำของพรรคได้เข้าปลุกระดมชนกลุ่มน้อย ในบริเวณที่ราบสูง ทราบอง จังหวัด กวาง งาย

ส.ค. 2502 กองทัพประชาชนเวียดนาม ชุด 559 (GROUP 559 PAVN) พร้อมด้วยอาวุธได้ถูกส่งเข้าไปปฏิบัติการในเวียดนามใต้

17 ม.ค. 2503 การต่อสู้ด้วยอาวุธเริ่มขึ้น ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง พร้อมกับการลุกฮือขึ้นของประชาชนในจังหวัด เบน เตร

26 ม.ค. 2503 กำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ เข้าตีต่อ กรมทหารราบที่ 5 ของเวียดนามใต้ (5TH REGIMENT ARVN)

9 ส.ค. 2503 ทหารฝ่ายเป็นกลางก่อการรัฐประหารขึ้นในเวียงจันทร์ เพื่อจะให้เจ้าสุวรรณภูมากลับขึ้นมาครองอำนาจอีก แต่ก็ถูกฝ่ายขวาที่มีสหรัฐสนับสนุน อยู่เข้ามาปราบปราม เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในลาว

5-10 ก.ย. 2503 พรรคกรรมกรแห่งชาติเวียดนามเหนือ มีมติ 2 ประการคือ
....................1. ใช้ระบบสังคมนิยมในเวียดนามเหนือ เพื่อสร้างชาติ
....................2. ใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่อการรวมชาติและคณะกรรมการได้มีมติเลือก นาย เลอ ดวน เป็นเลขาธิการพรรค เป็นคนแรก

8 พ.ย. 2503 จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ

20 ธ.ค. 2503 ได้รับการเปิดเผยว่ามี แนวร่วมเพื่อปลดปล่อยแห่งชาติ (NATIONAL LIBERATION FRONT : NLF) เกิดขึ้นแล้ว

31 ธ.ค. 2503 เจ้าหน้าที่ทางสหรัฐ ในเวียดนามมียอดรวบรวมราว 900 นาย

1 ม.ค. 2504 ขบวนการประเทศลาว และกองทัพเวียดนามเหนือตกลงร่วมกันที่จะสู้/ ขับไล่กองทัพรัฐบาลลาว ออกจากบริเวณที่ราบ ยาเร

15 ก.พ. 2504 กองกำลังปฏิวัติภาคใต้ ได้รวมตัวกันจัดตั้ง ตนเองเป็น “กองทัพปลดปล่อยประชาชน” (PLAF)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังติดอาวุธของ NLF

13 พ.ค. 2504 หยุดยิงในลาว, 3 วันต่อมามีการประชุมของ 14 ชาติที่ เจนีวา เพื่อที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมที่เป็นกลาง

19 มิ.ย. 2504 ดร. ยูยีน สตาลีย์ ทีปรึกษาประธานาธิบดี เคนเนดี้ บินมาไซ่ง่อนเพื่อทราบความต้องการความช่วยเหลือทหารของประธานาธิบดี เดียมห์

19-25 ต.ค. 2504 ทีปรึกษาประธานาธิบดี นาย วอล์ท รอสโท และนายพลแมกซ์เวล ดี เทเลอร์ บินมาเวียดนามใต้ เพื่อวางแผนช่วยเหลือทางทหาร

31 ธ.ค. 2504 เจ้าหน้าที่ทางทหารสหรัฐ ในเวียดนามมียอดรวมราว 3,200 คน

8 ก.พ. 2505 สหรัฐได้แต่งตั้ง นายพล พอล ดี ชาร์กินส์ เป็นหัวหน้าคณะในการปรับปรุงการช่วยเหลือทางทหารต่อเวียดนามใต้ และได้จัดตั้ง MILITARY ASSISTANCE COMMAND – VIETNAM หรือ MACV ขึ้น

16 ก.พ. 2505 NLF (NATIONAL LIBERATION FRONT) เปิดการประชุมสมัชชาเป็นครั้งแรก

มิ.ย. 2505 ทหารฝ่ายขวาของลาวเริ่มแตกแยก ขบวนการประเทศลาว และกองทำประชาชนเวียดนาม (PAVN) สามารถแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในลาวได้ประธานาธิบดี เคนเนดี้ ส่งทหารเข้ามาประจำในประเทศไทย

23 ก.ค. 2505 มีการลงนามในสนธิสัญญา เจนีวา ให้มีการรับรองว่าลาวเป็นกลาง

31 ก.ค. 2505 เจ้าหน้าที่ทางทหารสหรัฐ ในเวียดนามมียอดรวมราว 11,300 คน

8 พ.ค. 2506 ทหารฝ่ายรัฐบาล ยิงเข้าใส่ฝูงชนที่เดินขบวนในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ มีผู้เสียชีวิต 9 คน

17 ก.ค. 2506 ตำรวจได้ใช้กระบองเข้าสลายฝูงชน ชาวพุทธในไซ่ง่อนที่เดินขบวนต่อต้าน การแบ่งแยกศาสนา

21 ส.ค. 2506 กองกำลังพิเศษภายใต้การอำนวยการของ โง ดิน นูห์ ได้บุกเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัย 1,400 คน, ทำลายศาสนสถาน, ประกาศกฎอัยการศึก

28 ส.ค. 2506 เอกอัครราชทูตสหรัฐ นาย เฮนรี่ แคบอท ลอดจ์ แนะนำให้ประธานาธิบดี เดียมห์ แจ้งไปยังประธานาธิบดี เคนเนดี้

ต.ค. 2506 นายพล เดือง วัน มินห์ และ ตรัน วัน ดง ร้องขอต่อ CIA ของสหรัฐเพื่อขอทำรัฐประหาร และได้รับคำตอบตกลง

1-2 พ.ย 2506 เกิดการรัฐประหารโดยฝ่ายทหาร โง ดิน เดียมห์ และ โง ดิน นูห์ ถูกฆ่าตาย

22 พ.ย. 2506 ประธานาธิบดี เคนเนดี้ถูกลอบสังหาร ประธานาธิบดี จอห์นสัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี

ธ.ค. 2506 การประชุมคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิวต์ มีมติให้เพิ่มการปฏิบัติการทางทหารต่อเวียดนามใต้ให้มากขึ้น

31 ต.ค. 2506 จนท. ทางทหารของสหรัฐ ในเวียดนามมียอดรวมราว 16,300 คน

30 ม.ค. 2507 นายพล เหงียน คานห์ ก่อการรัฐประหารต่อ นายพล มินห์ และตรัน วัน ดง

25 เม.ย. 2507 นายพล เวสต์มอร์แลนด์ ถูกส่งมาเป็นหัวหน้าหน่วย MACV แทน นายพล ฮาร์กินส์

27 พ.ค. 2507 รัฐบาลผสมลาวเกิดแตกแยก, กองทัพของขบวนการประเทศลาวสามารถเข้ายึดที่ราบ ยา เร ได้อีกครั้ง

30-31 ก.ค. 2507 กองทัพเรือ เวียดนามใต้ โจมตีเกาะใกล้ชายฝั่งทะเลเวียดนามเหนือ

1-2 ส.ค. 2507 เครื่องบินลาว (สหรัฐมอบให้) ทำการโจมตีทิ้งระเบิดใส่ 2 หมู่บ้านในจังหวัด เง อาห์น ของเวียดนามเหนือ

2-4 ส.ค. 2507 เรือลาดตระเวนของเวียดนามเหนือได้ข่มขู่เรือ แมดดอกซ์ และเรือ ซี เทอเนอร์ ออย ของสหรัฐ : ประธานาธิบดี จอห์นสัน ได้ออกคำสั่งให้ทำ
การโจมตีทางอากาศต่อ เรือลาดตระเวนของเวียดนามเหนือทันที รวมทั้งฐานที่ตั้ง

7 ส.ค. 2507 วุฒิสภาของสหรัฐ ออกเสียง 88:2, สภาผู้แทนออกเสียง 461:0 อนุมัติให้ประธานาธิบดี มีอำนาจทั้งปวงในการแก้ไขปัญหาในอ่าวตังเกี๋ย (TONKIN GULF RESOLUTION)

4 ธ.ค. 2507 PLAF สามารถทำลายหน่วยของเวียดนามใต้ ที่มีขนาดใหญ่กว่าลงได้ และหน่วยทหารเวียดนามใต้ หน่วยนี้เป็นหน่วยที่ได้รับการฝึก และการใช้อาวุธของสหรัฐ

8-20 ธ.ค. 2507 นักเรียน, พุทธศาสนิกชน ในไซ่ง่อนเดินขบวน ประท้วงรัฐบาลทหาร

14 ธ.ค. 2507 เครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐ เริ่มทิ้งระเบิดเส้นทางโฮจิมินห์ ในลาว

31 ธ.ค. 2507 จนท. ทางทหารสหรัฐ ในเวียดนามมียอดรวมราว 23,300 คน

7 ก.พ. 2508 ฝ่ายกองโจรคอมมิวนิสต์ เข้าโจมตีที่ตั้งของที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐใกล้เมือ เปลกู ทหารสหรัฐถูกสังหาร 9 นาย, เครื่องบินรบสหรัฐโจมตีทางอากาศแก้แค้นต่อเป้าหมายในเวียดนามเหนือ

18 ก.พ. 2508 รัฐประหารโค่น นายพล คานห์

28 ก.พ. 2508 จนท.สหรัฐแถลงว่า “ การโจมตีทางอากาศแก้แค้น” จะยังคงดำเนินต่อไป (เรียกว่า OPERATION ROLLING THUNDER) เพื่อต้องการบีบบังคับให้ฮานอย ยอมเจรจา

29 ก.พ. 2508 รัฐบาลฮานอยสั่งอพยพผู้คนออกจากตัวเมือง

9 มี.ค. 2508 หน่วยกำลังรบสหรัฐ เดินทางถึงเวียดใต้ที่เมือง ดานัง

8 เม.ย. 2508 ฮานอยยื่นข้อเสนอ 4 ประการ เพื่อสนับสนุนให้มีสันติถาพ ตามแนวทางของแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ

14 มิ.ย. 2508 คณะกรรมการกลางปกครองไซ่ง่อน ซึ่งนำโดยเหงียน วัน เทียว ได้เลือก พล.อ.อ.เหงียน เกา กี เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของเหงียน เกากี เป็นรัฐบาลที่ 9 นับตั้งแต่ พ.ย. 1963 เป็นต้นมา

14-16 พ.ย. 2508 หน่วยทหารสหรัฐ และหน่วยทหารของเวียดนามใต้ ปะทะกับฝ่ายตรงข้ามครั้งใหญ่ ในแถบ หุบเขา เอีย ครัง

31 ธ.ค. 2508 ทหารสหรัฐในเวียดนาม มียอดรวมราว 184,000 คน

10 มี.ค. 2509 การปลดนายพล เหงียน ชาน แม่ทัพน้อยที่ 1 ของเวียดนามใต้ก่อให้เกิดการเดินขบวนประท้วง ในเมือง เว้ และดานัง

16 มี.ค 2509 การเดินขบวนลุกลามเข้าไปในไซ่ง่อน โดยมี พระภิกษุ เป็นผู้นำเรียกร้องให้ ฝ่ายทหารคืนอำนาจให้กับฝ่ายพลเรือน

23 มี.ค. 2509 เกิดการสไตร์คทั่วไป ทั้งในเมืองเว้ และเมืองดานัง รวมทั้ง จนท. บ้านเมืองด้วย

15 พ.ค. 2509 เหงียน เกา กี ตัดสินใจส่งหกน่วยนาวิกโยธิน 2 กองพันไปประจำในพื้นที่กองทัพน้อยที่ 1 ในดานัง

11 ก.ย. 2509 ตั้งสภาในเวียดนามใต้ อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และผู้นำพระภิกษุสงฆ์ในไซ่ง่อนได้ร่วมประนามด้วย

31 ธ.ค. 2509 กำลังทหารสหรัฐ ในเวียดนามใต้ มียอดรวมราว ๆ 362,000 คน และนอกจากนั้นยังคงมีกำลังประจำ อยู่ในเกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์,ไทย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ อีกรวม 50,000 คน

เม.ย. 2510 เกิดการเดินขบวนต่อต้านสงครามครั้งใหญ่ทั่วสหรัฐอเมริกา

มิ.ย. 2510 นายพล เหงียน ซี ทราน ได้เสนอแผนในการรุก และเข้าตีต่อเมืองต่าง ๆ ในเวียดนามใต้

30 มิ.ย. 2510 นายพล เหงียน เกากี ถอนตัวจากการลงสมัครแข่งขันชิงประธานาธิบดี (เพราะผู้นำทางทหารบีบบังคับ) โดยหันมาลงสมัครเป็นรองประธานาธิบดี

3 ก.ย. 2510 เหงียน วัน เทียว ได้รับเลือกตั้ง โดยมีผู้มาลงคะแนน 34.8เปอร์เซ็นต์

ต.ค. เกิดการเดินขบวนต่อต้านสงครามในวอชองตัน ประชาชนเดินขบวนไปเพนตากอน

21 พ.ย. 2510 ในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อ สโมรสรหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นายพล เวลส์ มอร์แลนด์ กล่าวว่า “สงครามใกล้จะจบลงแล้ว”

31 ธ. ค. 2510 ทหารสหรัฐในเวียดนาม มียอดรวมราว 485,600 คน

21 ม.ค. 2511 เริ่มมีการปิดล้อมเมือง เค ซาน (ของเวียดนามใต้)

30-31 ม.ค. 2511 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าตีต่อเมืองใหญ่ ๆ ของเวียดนามใต้และบุกรุกสถานทูตสหรัฐในไซ่ง่อน

7 ก.พ. 2511 ทหารเวียดนามเหนือสามารถบุกยึด ค่าย ลาง ไว ใกล้เมือง เค ซาน

24 ก.พ. 2511 ฝ่ายรัฐบาลสามารถผลักดันคอมมิวนิวส์ออกจากเมืองเว้ ได้สำเร็จ หลังเกิดการสู้รบอย่างหนักนานติดต่อกันมาตลอด 25 วัน

27 ก.พ. 2511 ประธานคณะเสนาธิการของสหรัฐ ได้รับการขอร้องขอจาก นายพล เวสต์มอร์ แลนด์ ว่าขอกำลังทหารเพิ่มอีกจำนวน 206,000 คน, ประธานคณะเสนาธิการได้ส่งเรื่องนี้ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้ตัดสินใจ

ก.พ. 2511 วุฒิสภาของสหรัฐ รับทราบข่าวว่า ประธานาธิบดี จอห์นสัน แถลงเหตุการณ์ต่อสภา ไม่ตรงกับความเป็นจริง

มี.ค. 2511 คล๊าก คลิฟฟอร์ด เข้าดำรงตำแหน่ง รมต. กห. แทน แมคนามารา, นายพล เครตัน อาบราม เข้าดำรงตำแหน่ง ผบ.MACV แทนนายพล เวสต์มอร์ แลนด์

31 มี.ค. 2511 ประธานาธิบดี จอห์นสัน ประกาศไม่ลงรับเลือกตั้งอีก มีการหยุดทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือไว้ชั่วคราว ยกเว้นบริเวณใกล้เขตปลอดทหาร มีการเรียกร้องให้เปิดเจรจาเพื่อสันติภาพ

3 พ.ค. 2511 ฮานอย และวอชิงตัน ตกลงเพื่อจะให้มีการเจรจาเพื่อสันติภาพ

พ.ค. ฝ่ายคอมมิวนิวต์ได้พยายามเข้าโจมตี ตามเมืองใหญ่ ๆ ของเวียดนามใต้อีก แต่ถูกผลักดันออกไปอย่างรวดเร็ว

31 ต.ค. 2511 ประธานาธิบดี จอห์นสัน สั่งการให้ยุติการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือภายในวันที่ 1 พ. ย. 1968 เพื่อรอความคืนหน้าจากการเจรจา, สหรัฐหันไปเพิ่มการทิ้งระเบิดต่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ในลาว

6 พ.ย. 2511 ริชาร์ด นิกสัน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี สหรัฐ

31.ธ.ค. 2511 กำลังทหารสหรัฐในเวียดนามมียอดรวม 536,100 คน

25 ม.ค. 2512 เริ่มการเจรจาเพื่อสันติภาพ 4 ฝ่าย

23 ก.พ. 2512 นิกสัน อนุมัติให้เครื่องบิน B-52 สหรัฐ เข้าไปทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา

18 มี.ค. 2512 เครื่องบิน B-52 ได้ถูกใช้เข้าไปทิ้งระเบิดในกัมพูชา เป็นกัมพูชา เป็นครั้งแรก และสหรัฐ ยังคงเข้าไปทิ้งระเบิดในกัมพูชาติดต่อกันไป 14 เดือน

8 พ.ค. 2512 เวียดนามเหนือ เสนอเงื่อนไขการเจรจาเพื่อสันติภาพรวม 10 ข้อ ซึ่งเสนอให้สหรัฐ ถอนตัวออกไปจากเวียดนามอย่างไม่มีเงื่อนไขและเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลผสม

14 พ.ค. 2512 จำนวนทหารสหรัฐ มียอดสูงสุด คือ 543,400 คน , นิกสัน ขอให้มีการถอนทหารมิใช่ “ทหารเวียดนามใต้” ออกไป และประกาศจะทยอยถอนทหารสหรัฐออกจากเวียดนาม

10 มิ.ย. 2511 เวียดนาม จัดตั้ง รัฐบาลปฏิวัติชั่วคราว (PRG)

4 ส.ค. 2511 เฮนรี คิสซิงกอร์ พบกับนาย ซวน ทุย ในปารีสเพื่อยืนยันข้อเสนอการประนีประนอม

3 ก.ย. 2511 โฮจิมินห์ เสียชีวิต

15 ต.ค., 15 พ.ย. 2512 เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ในสหรัฐ เพื่อคัดค้านสงคราม

3 พ.ย. 2512 นิกสันได้พยายามชี้ให้เห็นความหายนะที่จะติดตามมา ถ้าคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายมีชัยในเวียดนาม และพยายามเรียกร้องให้ “พลังเงียบ” ทั้งหลายช่วยในการสนับสนุน

ธ.ค. 2512 มีบทความจากผู้นำระดับสูง เวียดนามเหนือว่า สภาวะสงครามปฏิวัติ

31 ธ.ค. 2512 กำลังทหารสหรัฐในเวียดนาม เหลือยอดรวม 475,200 คน

21 ก.พ. 2513 คิสซิงเกอร์ เข้าหารือกับนาย นาย เล ดึก โท แบบปิดลับ

ก.พ. 2513 เวียดนามเหนือและขบวนการประเทศลาว มีชัยเหนือฝ่ายลาวและสามารถผลักดันทหารไทย, ทหารม้ง ที่มี CIA สนับสนุนออกจากบริเวณที่ราบ ยา เร รวมทั้งสามารถยึดบริเวณ สนามบิน เชียง โขง ซึ่งจะทำให้สามารถให้การระวังป้องกันเส้นทางส่งกำลังไปยังภาคใต้ของลาวได้ดีขึ้น

12 มี.ค. 2513 ในขณะที่เจ้าสีหนุ เดินทางออกนอกประเทศ รัฐบาลพนมเปญได้เรียกร้องให้มีการถอนทหารออกจากกัมพูชา โดยด่วน

18 มี.ค. 2513 สภาผู้แทนราษฎร กัมพูชาได้มีมติขับไล่เจ้าสีหนุออกจากเป็นประมุขของกัมพูชา และได้มีมติแต่งตั้งนายพลเลอนอล ขึ้นเป็นประมุข ขณะที่สีหนุอยู่ในปักกิ่ง

27-28 มี.ค. 2513 กองทัพเวียดนามใต้ ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐได้บุกเข้ากวาดล้าง/โจมตีฐานที่ตั้งของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในกัมพูชา

11 เม.ย. 2513 กองกำลังฝ่ายรัฐบาลกัมพูชา และตำรวจได้รวมกันสังหารชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในกัมพูชา

28 เม.ย. 2513 กองกำลังผสม สหรัฐ-เวียดนามใต้ ร่วมกันเข้าตีฐานที่มั่นของฝ่ายคอมมิว นิวต์ ในบริเวรพื้นที่ FISHHOOK ในกัมพูชา

30 เม.ย. 2513 ประธานาธิบดี นิกสัน เปิดเผยว่า ขณะนี้กองกำลังทหารสหรัฐ กำลังปฏิบัติการล้วงล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชา เกิดการประท้วงขึ้นในสหรัฐอเมริกา

24 มิ.ย. 2513 วุฒิสภา สหรัฐ มีมติยกเลิก กฎหมายว่าด้วย TOKIN GULE RESOLUTION ด้วยคะแนน 81:0

30 มิ.ย. 2513 วุฒิสภาได้ผ่านกฎหมาย ให้ระงับการปฏิบัติ การทางทหารของสหรัฐในกัมพูชา รวมทั้งถอนที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐในกัมพูชาออกทั้งหมด

7 ต.ค. 2513 ประธานาธิบดี นิกสัน เสนอข้อยุติหยุดยิงใน 3 ประเทศ อินโดจีน

31 ธ.ค. 2513 กองกำลังทหารสหรัฐมียอดรวม 334,600 คน, ส่วนกองกำลังทหารของเวียดนามใต้มียอดรวมราว 1,000,000 คน

8 ก.พ. 2514 กองกำลังทางอากาศสหรัฐ ร่วมกับกองกำลังเวียดนามใต้ใต้เริ่มปฏิบัติ“ยุทธการ LAM SON 719” เพื่อสกัดการส่งกำลังบำรุงของเวียดนามเหนือที่กระทำผ่านทางใต้ของลาว การปฏิบัติดังกล่าวได้รับการต้านทานอย่างรุนแรง

24 มี.ค 2514 “ยุทธการ LAM SON 719” ยุติลง โดยกองกำลังฝ่ายเวียดนามใต้ ได้รับความ เสียหายพอสมควร และต้องขนย้ายทางอากาศออกจากลาว

พ.ค. 2514 คณะกรรมการฝ่ายการเมืองของ พรรคคอมมิวนิสต์ ได้มีการพิจารณาวางแผนเพื่อ “เผด็จศึกให้ได้ชัยชนะ” ในปี 1972

20 ส.ค. 2514 นายพล เดือง วัน มินห์ ถอนตัวจากการลงรับสมัครเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีของเวียดนามใต้, ทำให้เหลือนายพล เหงียน วัน เทียว แต่ผู้เดียวไม่มีคู่แข่ง

3 ต.ค. 2514 เหงียน วัน เทียว ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเวียดนามใต้

31 ธ.ค. 2514 กำลังทหารสหรัฐในเวียดนามมียอดเหลือ 156,800 คน ส่วนฝ่ายเวียดนามใต้มียอดมากกว่า 1 ล้านคน

30 มี.ค. 2515 ทหารเวียดนามเหนือได้พิจารณา การรุกใหญ่ข้ามเขตปลอดทหารลงมา ซึ่งเป็นการรุกครั้งที่ใหญ่ที่สุด ตั้งแต่ 1986 เป็นต้นมา และสามารถเข้ายึดจังหวัดกลางตรี ได้

6 เม.ย. 2515 ฝ่ายเวียดนามเหนือได้เปิดแนวรบที่ 2 โดยรุกเข้าใกล้ไซ่ง่อน เครื่องบินรบของสหรัฐ ก็ได้บินไปโจมตีเวียดนามเหนือ อย่างหนัก เป็นการตอบโต้

7 เม.ย. 2515 ฝ่ายเวียดนามเหนือยึดได้เมือง ลอด นินห์ เตรียมการรุกต่อไปไปเพื่อเข้ายึดเมือง แอน ลอด

15 เม.ย. 2515 เครื่องบิน B -52 ร่วมโจมตีทิ้งระเบิด ที่หมายทางทหาร ในเวียดนามเหนือ

1 เม.ย. 2515 ฝ่ายเวียดนามเหนือสามารถยึด เมือง กวางตรีได้

2 เม.ย. 2515 คิซซิงเกอร์ พบปะหารือเป็นการลับกับ นาย เล ดึก โท คิซซิงเกอร์ยันจะให้เวียดนามเหนือถอนทหารออกจาก เวียดนามใต้

23 ม.ค. 2516 คิซซิงเกอร์ และ เล ดึก โท เริ่มต้นตกลงกันได้, การเจรจาหยุดยิง ในลาวได้รับการกล่าวถึงในการประชุมด้วย

27 ม.ค. 2516 มีการลงนามใน สัญญาหยดยิง/ยุติสงคราม และสถาปนา สันติภาพขึ้นในเวียดนามใต้ จากผู้แทน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
DRV : DEMOCRATIC REPUBLIC OF VIETNAM
SRV : SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM
PRG : PROISIONAL REVOLUTIONARY GOVERNMENT OF SOUTH VIETNAM และ สหรัฐอเมริกาการหยุดยิงเริ่มมีผล, กองกำลังเวียดนามใต้ เริ่มยึดหมู่บ้านต่าง ๆ คืนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ ก่อนที่การหยุดยิงจะมีผลบังคับใช้

29 มี.ค. 2516 ทหารสหรัฐหน่วยสุดท้าย เดินทางออกจากเวียดนาม

เม.ย.-พ.ค. ฮานอย, ไซ่ง่อน, วอชินตัน ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าละเมิด ข้อสัญญาเรื่องการหยุดยิง

6-13 มิ.ย. 2516 คิซซิงเกอร์ และ เล ดึก โท พบกันในกรุงปารีส, เจรจาตกลงกัน เรื่องปรับปรุงมาตรการ การควบคุมหยุดยิงให้ดีขึ้นอีก

29 มิ.ย. 2516 มีการออกกฎหมายกำหนดให้ภายใน วันที่ 15 ส.ค. จะยุติการ ระเบิดในกัมพูชา

10 ก.ค. 2516 ประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว ประกาศ “ปฏิรูประบบราชการ” เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้รัฐบาลเวียดนามใต้

14 ก.ค. 2516 นาวาอากาศตรี HAL KNIGHT เปิดเผยเอกสารที่แสดงถึง ข้อผิดพลาดของการทิ้งระเบิดในกัมพูชา

26 ส.ค. 2516 ผู้ที่เป็นฝ่ายของประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว ได้รับเลือกเข้า เป็นวุฒิ สมาชิก ทั้งหมด

ต.ค.2516 การประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 21 เห็นว่า ประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว เป็นผู้ที่ทำให้การเจรจาที่ ปารีสประสบความล้มเหลว, ฝ่ายคอมมิวนิสต์มีมติให้การรุกทางทหารเท่านั้น ในการแก้ปัญหา

7 พ.ย. 2516 ประธานาธิบดี นิกสัน วีโต้ กฎหมายเรื่อง WAR POWERS

15 พ.ย. 2516 ร่างกฎหมายว่าด้วย “การห้ามใช้งบประมาณทางทหาร เพื่อการ ปฏิบัติการของทหารสหรัฐในอินโดจีน” ผ่านสภา

19 ม.ค. 2517 สภาผู้แทนราษฎรเวียดนามใต้ ได้มีการประชุมในวาระพิเศษให้ แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นผลให้ประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว สามารถดำรงตำแหน่ง ต่อได้อีก เป็นสมัยที่ 3, ฝ่ายค้านร่วมกันประท้วง

ก.พ. 2517 กองกำลังเวียดนามใต้ ปฏิบัติการรุกต่อพื้นที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึด ครองไว้,ฝ่ายคอมมิวนิสต์ตอบโต้

มี.ค.2517 มีการสู้รบกับหนักที่สุด ตั้งแต่หลังหยุดยิงเป็นต้นมา

4 เม.ย. 2517 ประธานาธิบดี นิกสัน ขออนุมัติงบประมาณ 474 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยทางทหารแก่เวียดนามใต้ แต่ถูกปฏิเสธ

12 เม.ย. 2517 เวียดนามใต้ถอนตัวออกจากการเจรจาที่กรุงปารีส ด้วยเหตุผลทาง การเมือง

13 พ.ค. 2517 คณะผู้แทนฝ่าย PRG ถอนตัวออกจากการเจรจาที่กรุงปารีส เพื่อประท้วงที่ฝ่ายเวียดนามใต้ถอนตัวออกจากการประชุม, กองทัพเวียดนามใต้ ยังคงเข้าปฏิบัติการในเขตยึดครองของฝ่าย คอมมิวนิสต์

6 ส.ค. 1974 สภาของสหรัฐได้ตัดงบช่วยเหลือทางทหารต่อเวียดนามใต้ จาก 1,000ล้านเหรียญ เหลือ 700 ล้านเหรียญ

9 ส.ค.1974 ประธานาธิบดี นิกสัน ลาออก, ฟอร์ด เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี

11 ส.ค.1974 ประธานาธิบดี ฟอร์ด มีจดหมายยืนยันต่อ ประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว ว่า สหรัฐจะยังยืนยันพันธกรณีที่มีต่อเวียดนามใต้ โดย “จะให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอ” ต่อเวียดนามใต้

20 ก.ย. 2517 มีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลในไซง่อน, รัฐบาลสั่งปิด หนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวบาทหลวง ตรัน ฮู ทันห์ ฟ้องร้อง ประธานาธิบดี เทียว ว่าคอรัปชั่นรวมทั้งครอบครัว

18 ธ.ค. 2517 คณะกรรมการทางเมืองของ ฮานอย ได้มีการประชุมจนถึงวันที่ 8 ม.ค.ได้ผลการประชุมว่า “ขณะนี้สถานการณ์เอื้ออำนวยที่จะบุกเวียดนามใต้” และมีมติอนุมัติแผนที่จะใช้การปฏิบัติการทางทหารเพื่อโค่น ประธานาธิบดีเหงียน วัน เทียว ให้ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า

1 มี.ค. 2518 ฝ่ายเขมรแดงสามารถรุก และปิดล้อมพนมเปญไว้ได้

8 ม.ค. 2518 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ เข้าตีและยึดเมือง ฟุค ลอง เอาไว้ได้ (เมืองนี้อยู่ทางเหนือของไซ่ง่อน)

5 ก.พ. 2518 นายพล วัน เทียน ดุง ออกเดินทางจาก ฮานอย เพื่อเข้ารับหน้าที่ “บัญชาการการรุกใหญ่ต่อเวียดนามใต้”

9 มี.ค. 2518 ฝ่ายเวียดนามเหนือเปิดฉากการรุกใหญ่ โดยเข้าตี บ้านเมทวด (ME THOUT) และสามารถเข้ายึดได้ในวันต่อมา

14 มี.ค. 2518 ประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว สั่งให้ปรับการว่างกำลังใหม่ โดยให้มาเพิ่มเติมกำลังให้กับ ทน.ที่ 3 และ ทน.ที่ 4, ย้ายกำลังออกจากเมืองเปลกู, คอนทูม

15 มี.ค. 2518 กองกำลังฝ่ายเวียดนามใต้ ถอนตัวออกจากบริเวณที่ราบสูงภาคกลาง, เริ่มระส่ำระสาย

27 มี.ค. 2518 กองทัพฝ่ายเวียดนามเหนือรุกข้ามแม่น้ำ MY CHANH เข้าตีเมือง เว้และสามารถยึดได้สำเร็จ

28 มี.ค. 2518 กองทัพฝ่ายเวียดนามเหนือเริ่มระดมปืนใหญ่ต่อสนามบิน เมือง ดานัง, ฝ่ายเวียดนามเหนือเข้ายึดเมืองดานังได้ในวันต่อมา

1 เม.ษ. 2518 นายพล ลอนนอล บินหนีออกจากพนมเปญ ไปฮาวาย

10 เม.ย. 2518 ประธานาธิบดี ฟอร์ด ร้องของบประมาณ ฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือเวียดนามใต้, สภาฯ คัดค้านอย่างเต็มที่

14 เม.ษ. 2518 คณะกรรมการเมือง ของเวียดนามเหนือ อนุมัติให้ใช้ “HO CHI MINE CAMPAIGN” เพื่อเข้ายึดไซ่ง่อน

17 เม.ษ 2518 กองทัพฝ่ายรัฐบาลของ กัมพูชา ฝ่ายต่อฝ่ายเขมรแดง, พนมเปญ แตก

20 เม.ษ. 2518 กองทัพฝ่ายเวียดนามเหนือสามารถเข้าตี กองพลทหารที่ 18 ของเวียดนามใต้ แตก และเข้ายึดเมือง ซวน ลอค ได้ (ห่างจากไซ่ง่อน 30 กม.)

21 เม.ษ. 2518 ประธานาธิบดี เหงียน วัน เทียว ประกาศลาออกทางโทรทัศน์ และแต่งตั้งนาย ตรัน วัน เฮือง (รองประธานาธิบดี) ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน

26 เม.ษ. 2518 กองทัพฝ่ายเวียดนามเหนือ จำนวน 15 กองพล พร้อมด้วยหน่วย สนับสนุนเริ่มกดดันต่อไซ่ง่อน

28 เม.ษ. 2518 นายพล เดือง วัน มินห์ เข้ายึดอำนาจจาก ตรัน วัน เฮือง

30 เม.ษ. 2518 เดือง วัน มินห์ ประกาศทางวิทยุให้กองทัพฝ่ายเวียดนายใต้วางอาวุธ,ฝ่ายเวียดนามเหนือ บุกเข้าไซ่ง่อนได้สำเร็จ

2 ธ.ค. 2518 จัดคณะผู้ปกครองเวียดนามในนามของ “PEOPLE’S COMMITTEES”,ทางฝ่ายประเทศลาว ได้มีการสถาปนา “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : LPDR”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น